1. เลือกใช้ฝ้าเพดานสะท้อนรังสีความร้อน
ปัญหาความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคานั้น ผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกถึงความร้อนที่สะสมภายในห้องได้ในช่วงบ่าย สำหรับวิธีแก้ไขควรเลือกใช้แผ่นฝ้าเพดานที่สะท้อนรังสีความร้อน หรือเลือกใช้แผ่นยิปรอคชนิดสะท้อนรังสีความร้อนบุอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ช่วยลดการสะท้อนรังสีความร้อน โดยเลือกติดตั้งฝ้าเพดานใต้หลังคา
2. การใช้ฉนวนกันความร้อน
การใช้ฉนวนกันความร้อนเป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากภายนอกเเละเก็บความเย็นให้คงอยู่ภายในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด เพราะให้ประสิทธิภาพป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าเเผ่นฝ้าเพดานธรรมดา โดยฉนวนกันความร้อนมีหลากหลายประเภท ได้แก่
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiberglass) หรือไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ช่วยดูดซับความร้อนและเสียงสะท้อน ไม่ติดไฟ มีความหนา และยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย
ฉนวนกันความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือแผ่นสะท้อนความร้อน UV มีความเหนียวทนทาน ควรติดใต้หลังคาและติดคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อความร้อน
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE มีความหนา เหนียว ทนต่อแรงกระแทก และการกัดกร่อน มีคุณสมบัติในการช่วย แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน
ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS เป็น โฟมกันความร้อนและเย็น ติดตั้งง่าย นิยมนำมาติดตั้งเป็นฝ้าเพดานหรือผนังบ้าน
3. ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้น
บ้านโดยทั่วไปมักจะก่ออิฐมอญเพียง 1 ชั้น ดังนั้นเพื่อบ้านจึงรับแสงอาทิตย์โดยตรง วิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ควรก่ออิฐมอญ 2 ชั้น โดยเฉพาะบ้านที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเวลาบ่าย เพื่อป้องกันความร้อน โดยอุณหภูมิในบ้านจะเย็นลงประมาณ 5 องศาเซลเซียส
ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวแก้ด้วยวิธีง่าย ๆ บ้านจะเย็นลงโดยไม่ต้องพึ่งการเปิดเครื่องปรับอากาศให้เปลืองค่าไฟ เรียกว่าลงทุนแต่ครั้งเดียวแต่ในระยะยาวเกินคุ้ม แล้วสมาชิกในครอบครัวยังใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
4. เลือกใช้หลังคาสีอ่อน
เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน โดยหลังคาที่มีสีสว่างจะสะสมความร้อนน้อยกว่าสีมืด เพราะสีสว่าง จะไม่สามารถดูดกลืนแสงบางแสงได้ เช่น สีขาว สีเทา อย่างไรก็ดีหากเลือกใช้หลังคาสีเข้มควรเลือกวัสดุที่กันความร้อน หรือเคลือบชั้นสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน
5. กระเบื้องเลือกพื้นที่ให้ความเย็น
ได้แก่ หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน หรือกระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่เหมาะสำหรับการปูกระเบื้องพื้นชั้นล่าง ด้วยวัสดุที่ช่วยเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายลายตามรสนิยมของผู้ที่อยู่อาศัย